วิตามินเอ

วิตามินเอ

trang cá cược xổ số 

วิตามินเอ (Vitamin A) จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูก รวมถึงช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและสายตา คนส่วนใหญ่ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอจากการรับประทานอาหาร แต่ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินเอในรูปแบบอาหารเสริม เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับ โรคตับอ่อน ไทรอยด์เป็นพิษ ผู้มีภาวะขาดโปรตีน เป็นต้น

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

วิตามินเอ พบได้ตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิด เช่น นม ไข่ เครื่องในสัตว์ แครอท มันเทศ ผักใบเขียว ผักที่มีสีเหลือง เป็นต้น หากมีภาวะขาดวิตามินเอ อาจส่งผลกระทบต่อดวงตาและการมองเห็น เช่น ตาบอดกลางคืน หรืออาจรุนแรงจนทำให้ดวงตาเสียหายถาวร การได้รับวิตามินเสริมชนิดนี้จึงจำเป็นต่อผู้ป่วยภาวะขาดวิตามินเอ หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

เกี่ยวกับวิตามินเอ

กลุ่มยา วิตามินเสริม
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาหาซื้อได้เอง
สรรพคุณ ป้องกันหรือรักษาการขาดวิตามินเอ
กลุ่มผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยารับประทานชนิดเม็ด ยารับประทานชนิดแคปซูล

คำเตือนของการใช้วิตามินเอ

  • ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้วิตามินเอ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวหรือประวัติการเจ็บป่วยก่อนใช้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากกำลังใช้ยารักษาโรคชนิดใดก็ตาม
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดความอ้วนหรือน้ำมันมิเนอรัลขณะใช้วิตามินเอ
  • สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เนื่องจากการรับประทานวิตามินเอ ในปริมาณมากอาจส่งผลให้ทารกพิการแต่กำเนิด แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิตามินบำรุงก่อนตั้งครรภ์โดยเฉพาะแทน
  • สตรีที่กำลังให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานวิตามินเอ เนื่องจากปริมาณที่ควรใช้อาจแตกต่างจากคนทั่วไป

ปริมาณการใช้วิตามินเอ

ป้องกันการขาดวิตามินเอ

ปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายควรได้รับต่อวันตามแต่ละช่วงอายุ มีดังนี้

  • ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรได้รับวิตามินเอจากน้ำนมแม่เป็นหลัก
  • ทารกอายุ 6 เดือน-3 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 400 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 4-5 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 450 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 500 ไมโครกรัมต่อวัน
  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินเอ 600 ไมโครกรัมต่อวัน
  • ผู้ชายอายุ 9-15 ปี ควรได้รับวิตามินเอ 600 ไมโครกรัมต่อวัน ส่วนชายที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปให้เพิ่มปริมาณเป็น 700 ไมโครกรัมต่อวัน
  • หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตามินเอ เพิ่มจากปริมาณปกติ 200 ไมโครกรัมต่อวัน
  • หญิงให้นมบุตร ควรได้รับวิตามินเอ เพิ่มจากปริมาณปกติ 375 ไมโครกรัมต่อวัน

รักษาการขาดวิตามินเอ

  • ผู้ใหญ่ หากมีอาการขาดวิตามินเอรุนแรงร่วมกับกระจกตาผิดปกติ ควรรับประทาน 500,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นปรับลดปริมาณเป็น 50,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และปรับลดลงเป็น 10,000-20,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 2 เดือน
  • ผู้ใหญ่ หากมีอาการกระจกตาผิดปกติ ควรรับประทาน 10,000-25,000 หน่วยต่อวันจนหายเป็นปกติ โดยทั่วไปมักใช้เวลา 1-2 สัปดาห์
  • เด็ก หากมีอาการเยื่อตาแห้ง ควรรับประทาน 5,000 หน่วยต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ติดต่อกัน 5 วัน หรือจนหายเป็นปกติ

การใช้วิตามินเอ

  • ปฏิบัติตามฉลากหรือตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามรับประทานมากกว่าหรือน้อยกว่าปริมาณที่กำหนด
  • ไม่ควรรับประทานวิตามินเอเสริมจากหลายผลิตภัณฑ์พร้อมกัน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากเสี่ยงได้รับในปริมาณมากเกินไปและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ควรรับประทานวิตามินเอร่วมกับมื้ออาหาร โดยกลืนลงไปทั้งเม็ด ไม่ต้องเคี้ยวก่อนกลืน
  • หากลืมรับประทานตามเวลาที่กำหนด ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงเวลาแล้ว ให้ข้ามไปครั้งถัดไปได้เลย ห้ามเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า
  • เก็บวิตามินเอ ไว้ที่อุณหภูมิห้อง ปิดฝาขวดให้สนิท หลีกเลี่ยงความชื้นและป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

ผลข้างเคียงของวิตามินเอ

วิตามินเอ มีผลข้างเคียงน้อยมาก ผลข้างเคียงที่รุนแรงมักเกิดจากการรับประทานเกินปริมาณที่กำหนด ซึ่งอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง ผิวลอก ริมฝีปากแตก อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปวดตามข้อต่อ ปวดศรีษะรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ปวดด้านหลังดวงตา ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปัสสาวะมีสีเข้ม ดีซ่าน การมองเห็นผิดปกติ นอกจากนี้ บางรายอาจมีอาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก บวมตามใบหน้า ริมฝีปาก หรือลำคอ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat