วิตามินดี

วิตามินดี

trang cá cược xổ số 

วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินชนิดละลายในไขมันที่พบได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินดี 2 หรือเออโกแคลซิเฟอรอล (Vitamin D2/Ergocalciferol) พบได้เฉพาะในพืชเท่านั้น และอีกรูปแบบ คือ วิตามินดี 3 หรือโคเลแคลซิเฟอรอล (Vitamin D3/Cholecalciferol) ได้รับจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังเมื่อโดนแสงแดดอ่อน ๆ และอาหาร โดยทั่วไปมักเรียกรวมเป็นวิตามินดี

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

หน้าที่สำคัญของวิตามินดี จะช่วยดูดซึมแคลเซียม ไปใช้ในกระบวนการสร้างกระดูก รักษาความสมดุลของระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ ปอด สมอง หัวใจและระบบภูมิคุ้มกัน

แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เช่น ไข่แดง ปลาทะเล ตับ นม หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่เสริมวิตามินดีลงไปเพิ่มเติม หรืออาจรับประทานเพิ่มในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งจะช่วยป้องกันและรักษาการขาดวิตามินดี ที่ร่างกายได้รับในรูปแบบอื่นไม่เพียงพอ ป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ในผู้สูงอายุ หรือโรคกระดูกอ่อนในเด็กในผู้ที่ขาดวิตามินดีอย่างรุนแรง

เกี่ยวกับวิตามินดี

กลุ่มยา วิตามิน
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาหาซื้อได้เอง
สรรพคุณ ป้องกันการขาดและรักษาระดับวิตามินดีในร่างกาย
กลุ่มผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยารับประทานชนิดเม็ด

คำเตือนของการใช้วิตามินดี

  • การรับประทานวิตามินดี อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรืออยู่ในช่วงการใช้ยา สมุนไพร อาหารเสริมที่อาจกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด ควรรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือเคยเป็นโรคเกี่ยวกับความดันโลหิต โรคตับและไต ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคหัวใจ มีความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร โรคของต่อมไทรอยด์ โรคปอด โรคทางผิวหนัง ปวดศีรษะบ่อย มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอและรับประทานด้วยความระมัดระวัง
  • ไม่ควรรับประทานวิตามินดี มากกว่า 100 ไมโครกรัม (4,000 IU) ต่อวัน เพราะอาจทำให้แคลเซียมในเลือดสูงและเป็นอันตรายต่อร่างกาย   
  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรสามารถรับประทานได้ตามปริมาณปกติเท่าผู้ใหญ่ทั่วไป แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์และรับประทานด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือความเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ
  • การรับประทานวิตามินดีควบคู่กับยาบางกลุ่ม เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาลดความอ้วน ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคความดันโลหิต ยาคอเลสไทรามีน ยาป้องกันการชัก อาหารเสริมประเภทแคลเซียม หรือยาลดกรด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง  
  • วิตามินดี อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง (เกิดระคายเคือง อักเสบ เป็นผื่น ผิวหนังบางลง) ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เกิดการก่อตัวของแคลเซียมในหลอดเลือดแดง ระดับคอเลสเตอรอลเปลี่ยนแปลง รู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ระดับวิตามินในร่างกายสูงเกินไป เวียนศีรษะ หลอดเลือดแดงแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือระบบทางเดินหายใจ ความดันโลหิตสูงขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ เกิดนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ ปวดกล้ามเนื้อ มีความผิดปกติเกี่ยวกับช่องท้อง (ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดบริเวณท้องจากตะคริว ท้องผูก)   

ปริมาณการใช้วิตามินดี

วิตามินดีมีอยู่หลายสูตรและมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน บางสูตรอาจมีการผสมส่วนประกอบหรือวิตามินชนิดอื่นเสริมลงไป ปริมาณการรับประทานจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการรับประทาน ความรุนแรงของโรค ปัจจัยด้านสุขภาพ และดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งแพทย์อาจมีการตรวจระดับวิตามินดีในเลือด เพื่อประเมินว่ามีภาวะขาดวิตามินดีหรือไม่ก่อนให้ยา

ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน

  • อายุต่ำกว่า 12 เดือน ควรได้รับวิตามินดี วันละ 400 IU (10 ไมโครกรัม)
  • อายุไม่เกิน 70 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 600 IU (15 ไมโครกรัม)
  • อายุมากกว่า 70 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 800 IU (20 ไมโครกรัม)
  • สตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตามินดี วันละ 400-600 IU (10 ไมโครกรัม) ส่วนสตรีตั้งครรภ์ในกลุ่มความเสี่ยงสูง ควรได้รับวิตามินดี วันละ 2,000-4,000 IU (50-100 ไมโครกรัม)
  • ทารกที่รับประทานนมแม่อย่างเดียวและมีความเสี่ยงขาดวิตามินดีสูงควรได้รับวิตามินดีเสริมวันละ 400-2,000 IU (10-50 ไมโครกรัม)

การใช้วิตามินดี  

หากเคยมีประวัติการแพ้ยา มีโรคประจำตัวเดิม หรือกำลังใช้ยา สมุนไพร และวิตามินเสริมตัวใดอยู่ในช่วงนั้น ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบก่อนการรับประทานวิตามินดี รวมถึงรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์หรือข้อบ่งใช้บนฉลากผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว

ในกรณีที่ลืมรับประทานวิตามินดี ควรรับประทานทันทีเมื่อทราบ แต่หากใกล้เวลาในรอบถัดไป ให้ข้ามไปรับประทานในรอบถัดไปแทน แต่ไม่ควรเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า หากเกิดความผิดปกติหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์

ผลข้างเคียงจากการใช้วิตามินดี  

เมื่อรับประทานในปริมาณที่แนะนำ มักไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ควรระมัดระวังการบริโภควิตามินดีในปริมาณสูงหรือติดต่อเป็นเวลานานโดยไม่มีเหตุจำเป็น เพราะอาจทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น ส่งผลการทำงานของไตและหัวใจ เกิดนิ่วในไต  รวมถึงอาจพบผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น

  • เกิดความสับสน ความรู้สึกตัวลดลง
  • น้ำหนักลดหรือไม่อยากอาหาร
  • กระหายน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดกระดูก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องผูก
  • ไอ
  • กลืนอาหารลำบาก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีอาการคัน เป็นผื่น หรือลมพิษ
  • เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
  • มีอาการแพ้ยา ทำให้วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาในการหายใจ เกิดผื่นแดง คัน และมีอาการบวมบริเวณใบหน้า คอ ลิ้น ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์
cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat