น้ำลายเทียม (Artificial Saliva)

น้ำลายเทียม (Artificial Saliva)

trang cá cược xổ số 

น้ำลายเทียม (Artificial Saliva) เป็นสารทดแทนน้ำลายที่ใช้เพื่อช่วยสร้างน้ำลายในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถผลิตน้ำลายออกมาได้มากเพียงพอ โดยนำมารักษาภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย (Xerostomia) ภาวะเยื่อเมือกอักเสบ (Mucositis) และช่วยบรรเทาอาการปากหรือคอแห้ง เจ็บ หรือระคายเคืองจากโรคบางชนิด จากการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี นอกจากนี้ อาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

น้ำลายเทียมมีข้อห้ามใช้และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น ผู้ใช้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ

เกี่ยวกับ น้ำลายเทียม

กลุ่มยา สารกระตุ้นและทดแทนน้ำลาย
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อใช้ได้เอง
สรรพคุณ รักษาภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย และเยื่อเมือกอักเสบ
กลุ่มผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยาชนิดสเปรย์ ยาชนิดสารละลาย ยาป้าย ยาผง ยาอม ยาเม็ด

คำเตือนในการใช้น้ำลายเทียม

  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำลายเทียมหากมีประวัติแพ้ส่วนประกอบของน้ำลายเทียมที่ระบุไว้บนฉลาก
  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ ทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อใช้ด้วยตนเอง วิตามิน และสมุนไพรใด ๆ เพราะมียาหลายชนิดที่อาจมีปฏิกิริยากับน้ำลายเทียม
  • ห้ามให้เด็กใช้น้ำลายเทียมโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้น้ำลายเทียม
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ตามฉลากอย่างเคร่งครัด ซึ่งน้ำลายเทียมมีรูปแบบและยี่ห้อที่หลากหลาย และมีรายละเอียดการใช้ที่แตกต่างกัน จึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนใช้เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มประมาณ 15 นาทีหลังจากใช้น้ำลายเทียม
  • หากน้ำลายเทียมเข้าตา ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ปริมาณในการใช้น้ำลายเทียม

ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยมีตัวอย่างการใช้น้ำลายเทียม ดังนี้

เยื่อเมือกอักเสบ

ผู้ใหญ่ สำหรับใช้ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ให้ใช้น้ำลายเทียม 4 ครั้ง/วัน หรือในกรณีที่มีอาการปวด อาจต้องใช้มากถึง 10 ครั้ง/วัน หรือใช้ตามที่แพทย์สั่ง

ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย

ผู้ใหญ่

  • ใช้ยาชนิดสเปรย์ 3-4 ครั้ง/วัน หรือใช้ยาบ้วนปาก 2-10 ครั้ง/วัน หรือตามที่แพทย์สั่ง
  • ใช้ยาอมเมื่อต้องการ โดยปล่อยให้ยาละลายอย่างช้า ๆ และควรให้ยาสัมผัสทั่วปากเพื่อให้ได้ผลดี อาจใช้ยาซ้ำตามต้องการ แต่ห้ามใช้เกิน 16 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ใช้ยาชนิดเจลโดยใส่ยาขนาดประมาณ 1 นิ้ว ลงบนลิ้นบริเวณรอบ ๆ ฟันและเหงือก ห้ามบ้วนยาออก และใช้ตามที่แพทย์สั่ง

เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ใช้ยาชนิดสเปรย์ 1-2 ครั้ง โดยใช้ปริมาณสูงสุด 30-60 ครั้ง/วัน ส่วนยาชนิดเจลให้ใช้ยาขนาดประมาณ 1 นิ้ว ทาลงบนลิ้นและบริเวณรอบ ๆ ฟันและเหงือก โดยห้ามล้างออก หรือใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง

การใช้น้ำลายเทียม

  • ใช้ยาตามฉลากและตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ
  • ห้ามให้น้ำลายเทียมเข้าตาและห้ามกลืน โดยให้ใช้ภายในปากเท่านั้น
  • ให้กลั้วน้ำลายเทียมชนิดน้ำยาบ้วนปากหรือชนิดสารละลายอื่น ๆ ในปากด้วยปริมาณเพียงเล็กน้อยเป็นระยะเวลาประมาณ 30 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง
  • หากเป็นน้ำลายเทียมชนิดผง ต้องผสมกับน้ำประมาณ 30 มิลลิลิตรก่อนใช้ โดยคนให้เข้ากันและใช้ทันทีจนหมด แม้ต้องกลั้วปาก 2 หรือ 3 ครั้งก็ตาม และห้ามเก็บน้ำลายเทียมที่ผสมแล้วเอาไว้เพื่อใช้ครั้งต่อไป
  • หากใช้น้ำลายเทียมชนิดสเปรย์ ให้ค่อย ๆ เขย่าขวดก่อนใช้ และใช้พ่นตรงเข้าไปในปากและบนลิ้น
  • สามารถอมน้ำลายเทียมชนิดเม็ดหรือยาอมไว้ในปากได้เป็นระยะเวลานานแม้ขณะนอนหลับ โดยบางชนิดอาจกดไว้ที่ฟันหรือเหงือกได้
  • หากเป็นน้ำลายเทียมชนิดเจล ยาป้าย หรือยากวาด อาจใช้โดยตรงลงบนเหงือก ลิ้น ฟัน หรือด้านข้างปาก
  • ความถี่ในการใช้ยาอาจขึ้นอยู่กับภาวะทางสุขภาพหรือตารางการใช้ยาชนิดอื่น ๆ ของผู้ป่วยด้วย
  • การใช้น้ำลายเทียมระหว่างที่ทำเคมีบำบัดหรือฉายรังสี ผู้ป่วยอาจต้องใช้น้ำลายเทียมมากถึง 10 ครั้ง/วันก่อนหรือหลังวันที่ทำการรักษา โดยให้ใช้ยาอย่างระมัดระวังหรือใช้ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • การใช้น้ำลายเทียมอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษานอกเหนือจากการรักษาสุขภาพช่องปากแบบอื่น ๆ ตามที่แพทย์แนะนำ
  • หากลืมใช้ตามเวลาที่กำหนด ให้ใช้ทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่หากใกล้ถึงเวลาใช้ในรอบถัดไป ให้ข้ามไปใช้รอบต่อไป ห้ามเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า
  • หากสงสัยว่าตนใช้น้ำลายเทียมมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  • เก็บบรรจุภัณฑ์น้ำลายเทียมตามที่ฉลากได้ระบุไว้ โดยควรเก็บให้ห่างจากความชื้น ความร้อน และแสงแดด

ผลข้างเคียงจากการใช้น้ำลายเทียม

การใช้น้ำลายเทียมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบได้น้อย เช่น พูดไม่ชัด รับรู้รสชาติเปลี่ยนแปลงไป การย่อยอาหารผิดปกติ และกลืนอาหารลำบาก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากพบผลข้างเคียงที่รุนแรง ควรไปพบแพทย์ทันที เช่น อาการแพ้ยา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม หรือคอบวม เป็นต้น นอกจากนี้ หากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใด ๆ เพิ่มเติม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเช่นกัน

cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat