ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

ความหมาย ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

trang cá cược xổ số 

Osteoarthritis (ข้อเสื่อม) เป็นอาการที่กระดูกอ่อน (Cartilage) ในข้อต่อกระดูกเสื่อมสภาพจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ การใช้งาน เป็นต้น การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน ส่งผลให้กระดูกเสียดสีกันหรือเกิดแรงกดมากขึ้น จนทำให้เจ็บบริเวณข้อต่อและขยับข้อต่อลำบาก หากไม่รีบรักษา อาการอาจรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยทั่วไปแล้ว Osteoarthritis มักเกิดบริเวณข้อนิ้วมือ เข่า สะโพก กระดูกสันหลัง และเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 50 ปี

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

อาการของข้อเสื่อม

ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุของผู้ป่วย หรือตำแหน่งของข้อต่อ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ Osteoarthritis ไม่รุนแรงมากนัก มีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายกลับปรากฏอาการที่รุนแรงกว่า หรือเกิดอาการขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการอาจเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และมีอาการป่วยที่แย่ลงในระยะยาว โดยอาการดังกล่าว ได้แก่

  • เจ็บปวด เมื่อขยับข้อต่อ
  • ข้อต่อบวม
  • อาการกดเจ็บ เมื่อมีการใช้แรงกดบริเวณข้อต่อ
  • รู้สึกหรือได้ยินการเสียดสีของกระดูกข้อต่อ
  • สูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถขยับข้อต่อได้เต็มที่เหมือนก่อน
  • ข้อต่อเกิดการติดแข็ง เมื่อขยับตัวหลังจากอยู่นิ่ง ๆ หรือไม่ได้ทำกิจกรรมเป็นเวลานาน เช่น การตื่นนอนตอนเช้า

สาเหตุของข้อเสื่อม

Osteoarthritis เกิดจากเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูกหรือกระดูกอ่อนบางลง ชำรุด และสึกหรอ ทำให้ไม่สามารถลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกได้เท่าเดิม จนเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น หากกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพลงมาก จนทำให้กระดูกเสียดสีกันโดยตรง ผู้ป่วยอาจมีกระดูกงอก (Bone Spurs) ขึ้นมาบริเวณข้อต่อนั้นด้วย

โดยปกติ เมื่อกระดูกอ่อนชำรุดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ร่างกายจะมีกลไกซ่อมแซมและรักษาด้วยตนเอง แม้ยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ Osteoarthritis อาจเกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการซ่อมแซมในร่างกาย หรืออาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • อายุ
    ประสิทธิภาพการซ่อมแซมกระดูกข้อต่อที่สึกหรอ และการส่งเลือดไปเลี้ยงข้ออาจลดลงตามอายุ
  • โรคอ้วน
    ผู้ป่วยโรคอ้วนมักเผชิญอาการ Osteoarthritis บริเวณเข่าและสะโพก เพราะข้อต่ออาจรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น
  • เพศ
    ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็น Osteoarthritis มากกว่าผู้ชาย
  • พันธุกรรม
    Osteoarthritis อาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
  • เคยได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายบริเวณข้อต่อ
    เช่น เคยกระดูกหักบริเวณใกล้ ๆ ข้อต่อ เคยป่วยเป็นข้อต่อติดเชื้อ หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็น ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของข้อต่อ
  • ใช้งานข้อต่อหนักเกินไป
    อาจพบในกลุ่มนักกีฬา ผู้ที่ต้องยกของหนัก หรือผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้สว่านลม

การวินิจฉัยข้อเสื่อม

แพทย์อาจให้ผู้ป่วยอธิบายลักษณะของอาการ ตำแหน่งที่ปรากฏอาการ ระยะเวลาที่ปวด และประวัติการเกิด Osteoarthritis กับบุคคลในครอบครัว เพราะ Osteoarthritis อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจร่างกายหาอาการบวมแดง อาการกดเจ็บ และข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวข้อต่อ รวมไปถึงการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • เอกซเรย์ แม้กระดูกอ่อนจะไม่ปรากฏบนภาพเอกซเรย์ แพทย์อาจวินิจฉัยว่ากระดูกอ่อนเสื่อมสภาพหรือหายไป โดยสังเกตจากช่องว่างระหว่างข้อต่อกระดูกบนภาพเอกซเรย์
  • เอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI) เป็นการใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กสร้างภาพความละเอียดสูงของกระดูก เนื้อเยื่ออ่อน และกระดูกอ่อน แม้ไม่นิยมใช้วินิจฉัย Osteoarthritis แต่อาจช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในกรณีที่อาการมีความซับซ้อนได้
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ใช้ตรวจหาว่าอาการเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นหรือไม่ เช่น การติดเชื้อที่ข้อต่อ โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นต้น

การรักษาข้อเสื่อม

ไม่มีวิธีใดที่รักษา Osteoarthritis ให้หายขาดได้ จุดประสงค์ของการรักษามุ่งไปที่การลดและบรรเทาอาการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หาก Osteoarthritis ไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการได้โดยการเลือกสวมรองเท้าที่เหมาะสม ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ ลดน้ำหนัก (สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก) ใช้อุปกรณ์ช่วยลดอาการตึงบริเวณข้อต่อ หรือลดกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวด

ส่วนการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ อาจเป็นไปตามดุลยพินิจและคำแนะนำของแพทย์

การรักษาด้วยยา

อาการเจ็บหรือปวดของ Osteoarthritis อาจบรรเทาได้ด้วยยาบางชนิด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาดูล็อกซีทีน (Duloxetine) รวมทั้งยาในกลุ่ม NSAIDs  เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) เป็นต้น

การบำบัด

นักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด อาจแนะนำวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันหรือทำงานต่อไปได้ โดยไม่เครียดหรือกังวลเกี่ยวกับอาการปวดจาก Osteoarthritis มากนัก เช่น ให้ผู้ป่วย Osteoarthritis บริเวณเข่าใช้ม้านั่งในการอาบน้ำ ผู้ป่วย Osteoarthritis บริเวณนิ้วมือ ใช้แปรงสีฟันที่มีด้ามจับที่ใหญ่ขึ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจปรึกษานักกายภาพบำบัด ในการจัดตารางการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล เพื่อลดอาการปวด เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อต่อแข็งแรงมากขึ้น

การผ่าตัดและหัตถการทางการแพทย์อื่น ๆ

หากรักษาด้วยวิธีประคับประคองแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาถึงวิธีรักษาดังต่อไปนี้

  • การฉีดคอร์ติโซน
    การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจช่วยลดอาการปวดข้อต่อได้ โดยแพทย์จะให้ยาชาบริเวณรอบ ๆ ข้อต่อก่อน แล้วจึงฉีดยาเข้าไปในช่องว่างข้อต่อ (จำกัดให้ทำได้เพียง 3-4 ครั้ง/ปี เพราะยาอาจสร้างความเสียหายแก่ข้อต่อได้)
  • การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
    การฉีดยากรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เพื่อช่วยหล่อลื่นข้อต่อ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่าได้ เพราะยากรดไฮยาลูรอนิคจะทำหน้าที่คล้ายกับส่วนประกอบที่เป็นของเหลวในข้อเข่า
  • การผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่
    อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา Osteoarthritis บริเวณเข่าข้างใดข้างหนึ่ง ศัลยแพทย์จะผ่าตัดกระดูกด้านบนหรือด้านล่างเข่า แล้วเพิ่มลิ่มกระดูกหรือกำจัดลิ่มกระดูกออก เพื่อช่วยปรับตำแหน่งกระดูกและแกนจากจุดรับน้ำหนักหรือแรงกดในตำแหน่งเดิมที่เสียหาย ให้เปลี่ยนจุดไปลงส่วนของกระดูกที่ยังดีอยู่แทน
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อ
    การรักษานี้จะทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดเข่ามาก และถูกจำกัดการเคลื่อนไหวอย่างมาก ศัลยแพทย์จะนำพื้นผิวข้อต่อส่วนที่ถูกทำลายออก แล้วใส่ผิวข้อเทียมไปแทนเนื้อเยื่อและกระดูกที่เสียหาย ทั้งนี้ ข้อต่อเทียมอาจหลวมและสึกหรอได้ จึงอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อใหม่ในอนาคต โดยทั่วไป การเปลี่ยนผิวข้อเทียมจะให้ผลการรักษาที่ดี ผู้ป่วยจะปวดน้อยลง และเข่าจะกลับมาใช้งานได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจเสี่ยงเกิดการติดเชื้อหรือมีภาวะเลือดออกได้ และอาจต้องใช้เวลา 3-6 เดือน ในการทำกายภาพบำบัดจนฟื้นฟูเต็มที่

การแพทย์ทางเลือก

การแพทย์ทางเลือกบางชนิด เช่น การฝังเข็ม การใช้น้ำมันอโวคาโดถั่วเหลือง (Avocado-Soybean Unsaponifiables) การใช้กลูโคซามีน (Glucosamine) และคอนดรอยติน (Chondroitin) อาจช่วยบรรเทาอาการปวดของ Osteoarthritis บริเวณเข่าและสะโพกได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ให้ถี่ถ้วนก่อนเข้ารับการรักษาเหล่านี้

ภาวะแทรกซ้อนของข้อเสื่อม

อาการของ Osteoarthritis อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา การขยับท่าทางหรือการเคลื่อนไหวร่างกายจะถูกจำกัดลง ทำให้ขาดอิสระในการใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ ภาวะแทรกซ้อนของ Osteoarthritis อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อต่อที่มีอาการ และความรุนแรงของอาการด้วย

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • มีอาการปวดเรื้อรัง
  • เสียการทรงตัว  
  • เสี่ยงต่อการหกล้ม
  • ภาวะขาดเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อ เพราะกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ หรือสลายตัวเร็วเกินไป
  • เส้นเอ็นและเอ็นยึดข้อต่อขาดความเสถียร
  • เลือดออกภายในข้อต่อ
  • ข้อต่อติดเชื้อ
  • กระดูกหักล้า
  • กระดูกตายจากการขาดเลือด
  • เส้นประสาทถูกกดทับ (เกิดขึ้นใน Osteoarthritis บริเวณกระดูกสันหลัง)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง มักเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อเจ็บปวดจนไม่สามารถใช้งานได้ (โดยเฉพาะข้อเข่า)
  • ข้อต่อผิดรูป (ปุ่มกระดูกเล็ก ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อกระดูก 2 ชิ้นมาบรรจบกัน)

การป้องกันข้อเสื่อม

แม้ยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน เพราะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่ผู้ป่วยอาจลดความเสี่ยงในการเกิด Osteoarthritis ได้ เช่น

  • ลดน้ำหนัก เพื่อช่วยลดอาการตึงบริเวณข้อต่อ
  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว แอโรบิค ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือ 2 ชั่วโมงครึ่ง)
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ข้อต่อบาดเจ็บ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก เพราะอาจทำให้ข้อต่อรับแรงกระแทก หรือรับน้ำหนักมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ควรปรับความสูงเก้าอี้ให้เหมาะสม และขยับเปลี่ยนท่าเป็นระยะ
cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat