Levetiracetam (ลีวีไทราซีแทม)

Levetiracetam (ลีวีไทราซีแทม)

trang cá cược xổ số 

Levetiracetam (ลีวีไทราซีแทม) เป็นยากันชักที่อาจช่วยลดอาการชักได้หลายชนิด นำมาใช้รักษาอาการชักหรืออาจใช้ร่วมกับยาต้านชักชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ อาจนำมาใช้รักษาโรคอื่นตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย
trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

ยา Levetiracetam มีข้อห้ามใช้และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ

เกี่ยวกับยา Levetiracetam

กลุ่มยา ยาต้านชัก
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ 
สรรพคุณ รักษาอาการชัก
กลุ่มผู้ป่วย เด็ก ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยาฉีด ยารับประทาน

คำเตือนในการใช้ยา Levetiracetam

  • แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยานี้ หากมีประวัติแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยาชนิดนี้ และแพ้ยาชนิดอื่น อาหาร หรือสารใด ๆ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ ทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อใช้ด้วยตนเอง วิตามิน และสมุนไพร เพราะมียาหลายชนิดที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา หากเป็นผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติหรือกำลังฟอกไต เนื่องจากยา Levetiracetam อาจต้องถูกปรับลดปริมาณลงเมื่อใช้กับผู้ป่วยที่ไตผิดปกติ
  • แจ้งให้แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์ทราบว่ากำลังใช้ยานี้ ก่อนเข้ารับการรักษาใด ๆ
  • ระหว่างที่ใช้ยา ผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามที่แพทย์สั่ง
  • ห้ามหยุดใช้ยาด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการชัก และหากหยุดใช้ยาก็ต้องค่อย ๆ หยุดยาตามที่แพทย์สั่ง
  • ยานี้อาจทำให้อารมณ์หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หากเกิดความผิดปกติใด ๆ ให้ไปปรึกษาแพทย์
  • ยา Levetiracetam อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างรุนแรงได้ อย่างภาวะแองจิโออีดีมา (Angioedema) หรืออาการบวมรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ใบหน้าบวม มือบวม ริมฝีปากบวม ตาบวม ลิ้นบวม หรือคอบวม มีปัญหาในการหายใจและการกลืน หรือเสียงแหบผิดปกติ ซึ่งหากพบอาการผิดปกติดังกล่าวให้รีบแจ้งแพทย์ทันที
  • ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ให้ใช้ยาอย่างระมัดระวัง เพราะเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงได้สูง
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้กับเด็ก และใช้ยาอย่างระมัดระวังเสมอ
  • เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปีที่ใช้ยานี้ อาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตอยู่บ่อยครั้ง
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียของยาก่อนใช้เสมอ และยานี้อาจออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์
  • สตรีที่ให้นมบุตรหรือวางแผนให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยานี้

ปริมาณการใช้ยา Levetiracetam

ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยมีตัวอย่างการใช้ยา ดังนี้

ใช้ร่วมกับยารักษาอาการชักชนิดอื่น

ยาฉีด

ผู้ใหญ่ สำหรับผู้ป่วยทีี่มีอาการชักเฉพาะส่วน โดยอาจมีหรือไม่มีอาการชักทั้งตัวในภายหลัง อาการชักแบบชักสะดุ้ง และอาการชักชนิดชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ในวันที่ 1 ให้หยดยาเข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณเริ่มต้น 500 มิลลิกรัมเป็นเวลาประมาณ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง และปรับลดหรือเพิ่มปริมาณยาจากเดิมแล้วให้ยาวันละ 2 ครั้งในช่วงระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ โดยปริมาณยาสูงสุดต้องไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

เด็ก

  • อายุไม่เกิน 6 เดือนจนถึง 1 ปี ให้หยดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ ปริมาณยาเริ่มต้น 14 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน อาจเพิ่มปริมาณอีก 14 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 โดยปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 42 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
  • อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน และมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 50 กิโลกรัม ให้หยดยาเข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณยาเริ่มต้น 20 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน อาจเพิ่มปริมาณยาอีก 20 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในสัปดาห์ที่ 2 โดยปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 60 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยหยดยาเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาประมาณ 15 นาที

ยารับประทาน

ผู้ใหญ่ สำหรับผู้ป่วยทีี่มีอาการชักเฉพาะส่วน โดยอาจมีหรือไม่มีอาการชักทั้งตัวในภายหลัง อาการชักแบบชักสะดุ้ง และอาการชักชนิดชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ในวันที่ 1 ให้รับประทานยาปริมาณเริ่มต้น 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง และปรับลดหรือเพิ่มปริมาณยาอีก 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ โดยปริมาณยาสูงสุดต้องไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

เด็ก

  • อายุน้อยกว่า 6 เดือนจนถึง 1 ปี รับประทานยาปริมาณเริ่มต้น 14 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน อาจปรับปริมาณยาเพิ่มอีก 14 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 โดยมีปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 42 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
  • อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน และมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 50 กิโลกรัม รับประทานยาปริมาณเริ่มต้น 20 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน อาจเพิ่มปริมาณยาอีก 20 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 โดยมีปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 60 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

ใช้รักษาอาการชักเฉพาะส่วน โดยอาจมีหรือไม่มีอาการชักทั้งตัวในภายหลังร่วมด้วย และใช้เป็นยารักษาเพียงขนานเดียว

ยาฉีด

ผู้ใหญ่ ให้ยาเข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณเริ่มต้น 250 มิลลิกรัม เป็นเวลาประมาณ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ เพิ่มปริมาณขึ้นจากเดิม 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง และอาจเพิ่มปริมาณยาขึ้นอีก 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยา โดยมีปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ยารับประทาน

ผู้ใหญ่ รับประทานยาเริ่มต้น 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ เพิ่มปริมาณจากเดิม 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง อาจเพิ่มปริมาณยาอีก 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยา โดยมีปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

การใช้ยา Levetiracetam

  • ใช้ยาตามฉลากและตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ
  • ยา Levetiracetam ชนิดยาฉีดจะใช้หยดเข้าทางหลอดเลือดดำภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ยา Levetiracetam ชนิดรับประทาน ผู้ป่วยสามารถรับประทานพร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้
  • หากลืมรับประทานยา ควรปรึกษาแพทย์
  • หากสงสัยว่าตนรับประทานยาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  • ระหว่างที่ใช้ยา ควรดื่มน้ำเปล่าให้มาก นอกจากแพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำน้อย
  • ห้ามให้ผู้อื่นใช้ยานี้ และห้ามใช้ยาของผู้อื่น
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงวิธีเก็บยาและกำจัดยาที่ไม่ได้ใช้แล้วอย่างเหมาะสม

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Levetiracetam

การใช้ยา Levetiracetam อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ ท้องเสีย เวียนศีรษะ ง่วงนอน คัดจมูก ระคายเคืองคอและจมูก ปวดท้อง นอนไม่หลับ รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน อาเจียน และไม่อยากอาหาร เป็นต้น หากอาการดังกล่าวไม่หายไปหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์

หากพบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยาดังต่อไปนี้ ควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที

  • อาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม คอบวม ผื่นคัน ผิวหนังบวมแดง มีเม็ดพุพอง ผิวลอกพร้อมกับมีไข้หรือไม่มีไข้ แน่นหน้าอกหรือลำคอ หายใจเสียงดัง มีปัญหาในการหายใจหรือการพูด เสียงแหบ เป็นต้น
  • กลุ่มอาการสตีเวนส์–จอห์นสัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุผิวทั่วร่างกาย
  • มีการติดเชื้อ ซึ่งอาจมีอาการบางอย่าง เช่น มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอรุนแรง เจ็บหู เจ็บไซนัส ไอ มีเสมหะมาก เสมหะเปลี่ยนสี เจ็บเวลาปัสสาวะ มีแผลในปาก และแผลหายช้า เป็นต้น
  • ง่วงนอนมาก รู้สึกเหนื่อย หรืออ่อนเพลีย มากผิดปกติ
  • การทรงตัวเปลี่ยนแปลง การเดินผิดปกติ
  • มีเลือดออกหรือมีรอยฟกช้ำผิดปกติโดยไม่สามารถอธิบายได้
  • ปวดศีรษะมาก เวียนศีรษะรุนแรง หรือหมดสติ
  • อาการชักรุนแรงขึ้น หรือมีอาการเหมือนก่อนใช้ยา
  • ประสาทหลอน

นอกจากนี้ ยา Levetiracetam ชนิดยาฉีด อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ใช้มีความคิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายได้ โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีประวัติพฤติกรรมดังกล่าว ดังนั้น หากพบว่ามีอาการ เช่น ซึมเศร้า ประหม่า กระสับกระส่าย หงุดหงิด โรคแพนิค อารมณ์เปลี่ยนแปลง มีอาการแย่ลงหรือมีอาการใหม่เกิดขึ้น เป็นต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และหากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใด ๆ เพิ่มเติม ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเช่นกัน

cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat