Enoxaparin (ยาอีน็อกซาพาริน)

Enoxaparin (ยาอีน็อกซาพาริน)

trang cá cược xổ số 

Enoxaparin (ยาอีน็อกซาพาริน) มีสรรพคุณเจือจางเลือดเพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของเลือดและช่วยละลายลิ่มเลือด แพทย์มักนำมาใช้ป้องกันหรือรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

เกี่ยวกับยา Enoxaparin

กลุ่มยา คยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ 
สรรพคุณ ป้องกันหรือรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน รักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด ST Segment Elevation (STEMI) และอาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่
กลุ่มผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดใต้ผิวหนัง
 

คำเตือนการใช้ยา Enoxaparin

 
  • หากกำลังใช้ยา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใดก็ตาม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยาชนิดนี้
  • แจ้งประวัติการเจ็บป่วยให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย หรือเคยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำหลังจากใช้ยาอีน็อกซาพารินหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่น
  • หากมีประวัติแพ้ยาอีน็อกซาพาริน เบนซิลแอลกอฮอล์ หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ผู้ที่มีอาการแพ้เนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมู เช่น ไส้กรอก แฮม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด หรือกำลังวางแผนผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือผ่าตัดช่องเหนือกระดูกสันหลัง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกรอบกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เป็นอัมพาตได้
  • ระหว่างใช้ยานี้ควรระมัดระวังไม่ให้เลือดออก หากได้รับบาดเจ็บควรไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากยาอาจส่งผลให้เลือดออกง่ายและออกมากผิดปกติ
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 45 กิโลกรัม ควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง เพราะเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงมากกว่าปกติ
  • หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เนื่องจากยานี้อาจส่งผลข้างเคียงรุนแรงต่อทารก โดยเฉพาะยาอีน็อกซาพารินชนิดใช้หลายครั้งที่มีเบนซิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม

ปริมาณการใช้ยา Enoxaparin

รักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด ST-Segment Elevation (STEMI)

ผู้ใหญ่

  • ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำปริมาณ 30 มิลลิกรัม พร้อมกับฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จากนั้นให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุก ๆ 12 ชั่วโมง ติดต่อกัน 8 วัน หรือตามที่แพทย์กำหนด โดยในการฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง 2 ครั้งแรก ไม่ควรใช้ยาเกิน 100 มิลลิกรัมต่อครั้ง
  • ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (Percutaneous Coronary Intervention: PCI) ที่ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังครั้งล่าสุดมานานกว่า 8 ชั่วโมง ให้ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำปริมาณ 300 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ระหว่างผ่าตัด
  • ผู้ที่มีอายุ 75 ปีขั้นไป ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 750 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุก ๆ 12 ชั่วโมง โดยในการฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง 2 ครั้งแรก ไม่ควรใช้ยาเกิน 75 มิลลิกรัมต่อครั้ง

รักษาภาวะเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่

ผู้ใหญ่

  • ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุก ๆ 12 ชั่วโมง ติดต่อกัน 2-8 วัน

รักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน

ผู้ใหญ่

  • ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุก ๆ 12 ชั่วโมง หรือฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 1.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม วันละ 1 ครั้ง โดยใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 5 วันหรือจนกว่าแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานแทน

เด็ก

  • อายุน้อยกว่า 2 เดือน ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 1.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 2 เดือนขึ้นไป ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุก ๆ 12 ชั่วโมง

ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตนอกร่างกายระหว่างฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผู้ใหญ่

  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดแดงในระบบไหลเวียนโลหิตนอกร่างกายปริมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมขณะเริ่มฟอกเลือด แพทย์อาจให้ผู้ป่วยบางรายเพิ่มปริมาณยาอีก 0.5-1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือลดปริมาณยาหากผู้ป่วยเสี่ยงต่อการมีเลือดออก ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตวายควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เนื่องจากปริมาณการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำงานของไต ณ เวลานั้น ๆ

ป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันระหว่างการผ่าตัด

ผู้ใหญ่

  • หากมีความเสี่ยงน้อยหรือปานกลาง ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 20 มิลลิกรัม ก่อนผ่าตัด 2 ชั่วโมง และหลังผ่าตัดให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 20 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 7-10 วัน หรือตามที่แพทย์กำหนด
  • หากมีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 40 มิลลิกรัม ก่อนผ่าตัด 12 ชั่วโมง และหลังผ่าตัดให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 40 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หรือเริ่มฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 30 มิลลิกรัม 2 ครั้ง หลังผ่าตัด 12-24 ชั่วโมง กรณีผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียม ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังต่ออีกปริมาณ 40 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 21 วัน
  • ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 40 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 6 วัน จนกว่าจะกลับมาเคลื่อนไหวได้ และห้ามใช้ยานี้นานติดต่อกันเกิน 14 วัน

เด็ก

  • อายุน้อยกว่า 2 เดือน ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 750 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 2 เดือนขึ้นไป ให้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังปริมาณ 500 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก ๆ 12 ชั่วโมง

การใช้ยา Enoxaparin

  • หากต้องการฉีดยาด้วยตนเอง ควรให้แพทย์แนะนำวิธีใช้ที่ถูกต้องและปฏิติบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  • ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังในส่วนที่เป็นไขมันบริเวณด้านซ้ายหรือด้านขวาของท้อง ห้ามฉีดยาชนิดนี้เข้ากล้ามเนื้อเด็ดขาด
  • หากลืมฉีดยาตามเวลาที่กำหนด ให้ฉีดยาทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงครั้งต่อไปแล้ว ให้ข้ามไปฉีดยาครั้งต่อไปได้เลย ห้ามเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังฉีดยา
  • โดยปกติยาอีน็อกซาพารินมีลักษณะเป็นของเหลวใสออกสีเหลืองอ่อน ๆ ห้ามใช้ยาที่เปลี่ยนสี มีสีขุ่น มีเศษผงปนเปื้อน หรือยาจากบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยรั่ว
  • กรณีที่ใช้กระบอกฉีดยาที่บรรจุยาพร้อมฉีด ไม่จำเป็นต้องไล่อากาศออกจากหลอดฉีดยาก่อนฉีด
  • ระหว่างใช้ยาควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  • ห้ามหยุดใช้ยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
  • หากอาการป่วยไม่ดีขึ้นหรืออาการแย่ลงหลังใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์
  • เก็บรักษายาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ในภาชนะที่ปิดมิดชิด หลีกเลี่ยงความชื้นและห่างไกลจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ยาชนิดใช้หลายครั้งที่เปิดใช้แล้ว ควรทิ้งไปหากใช้ไม่หมดภายใน 28 วัน

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Enoxaparin

ยา Enoxaparin มักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกระคายเคืองบริเวณที่ถูกฉีดยา รู้สึกไม่สบายท้อง หรือท้องเสีย อย่างไรก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากอาการดังกล่าวไม่ดีขึ้น หรือพบผลข้างเคียงรุนแรงต่อไปนี้

  • มีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก มีอาการบวมตามใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ ผิวลอกพร้อมกับมีไข้หรือไม่มีไข้ เป็นต้น
  • มีภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด ปัสสาวะมีเลือดปน อุจจาระมีสีดำหรือสีแดง เลือดออกทางช่องคลอด ฟกช้ำตามร่างกาย หรือมีไหลออกจากแผลไม่หยุด เป็นต้น
  • ลำตัวข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง ทรงตัวลำบาก บังคับใบหน้าครึ่งหนึ่งไม่ได้ มีความผิดปกติทางการพูดและการคิด หรือมองเห็นได้ไม่ชัด
  • รู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat