Dexamethasone (เดกซาเมทาโซน)

Dexamethasone (เดกซาเมทาโซน)

trang cá cược xổ số 

Dexamethasone (เดกซาเมทาโซน) คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ฮอร์โมนหรือยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย โดยนำมาใช้รักษาโรคและภาวะต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย และการอักเสบของดวงตา หรืออาจนำมาใช้รักษาโรคหรือภาวะอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา อย่างไรก็ตาม ยา Dexamethasone มีข้อห้ามใช้และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

เกี่ยวกับยา Dexamethasone

กลุ่มยา ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid)
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ 
สรรพคุณ ต้านการอักเสบ
กลุ่มผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยารับประทานชนิดเม็ด ยาให้ทางหลอดเลือด ยาฉีดเข้าที่ข้อ ยาหยอดตา

คำเตือนของการใช้ยา Dexamethasone

  • ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากเป็นโรคต่อไปนี้
    • โรคตับ เช่น ตับแข็ง
    • โรคไต
    • โรคต่อมไทรอยด์
    • มีประวัติเป็นโรคมาลาเรีย
    • วัณโรค
    • โรคกระดูกพรุน
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ต้อหินหรือต้อกระจก
    • โรคเริมที่เกิดขึ้นกับดวงตา
    • โรคแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
    • ความดันโลหิตสูง
    • ภาวะหัวใจวาย
    • มีภาวะซึมเศร้า หรือป่วยทางจิต
  • หากกำลังใช้ยานี้ ไม่ควรรับวัคซีนเชื้อเป็น (Live Vaccine) เนื่องจากอาจทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่
  • ผู้ใช้ยาสเตียรอยด์ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสติดโรคอีสุกอีใสหรือโรคหัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะการติดเชื้อเหล่านี้ขณะใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ยานี้สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลงได้ ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อหรือในรายที่มีการติดเชื้ออยู่ก่อนแล้วอาจทำให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ปริมาณการใช้ยานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง หากผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ร่างกายมีความเครียดมากกว่าปกติ เช่น มีการเจ็บป่วยที่รุนแรง มีไข้ หรือมีการติดเชื้อ รวมไปถึงผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหรือได้รับการรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนใช้ยานี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงสถานการณ์และภาวะดังกล่าวที่อาจส่งผลต่อการรักษา
  • ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติทางสุขภาพของผู้ป่วย ทั้งโรคประจำตัว ยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ เนื่องจากมีโรคและยาหลายชนิดที่อาจได้รับผลกระทบจากการใช้ยาสเตียรอยด์
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราไม่ว่าส่วนใดในร่างกาย ไม่ควรใช้ยานี้
  • ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยา หากมีประวัติแพ้ยานี้ หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อื่น ๆ เช่น ยาเพรดนิโซน (Prednisone) รวมไปถึงการแพ้อื่น ๆ เพราะยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะยาสเตียรอยด์อาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดหรือปัสสาวะได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน
  • การใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะหรือง่วงนอน ดังนั้น ควรระมัดระวังเมื่อต้องขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร หรืองานที่เสี่ยงอันตราย
  • ยานี้สามารถขับออกทางน้ำนม อาจมีผลต่อทารกได้ ควรแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้งว่ากำลังให้นมบุตร
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา เพราะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์หรือไม่
  • ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากพบว่าเด็กมีการเจริญเติบโตที่ไม่ปกติในขณะที่ใช้ยานี้ เนื่องจากยาสเตียรอยด์ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้
  • ตัวอย่างยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Dexamethasone เมื่อใช้ร่วมกัน
    • ยาแอสไพริน
    • ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporin)
    • ยาไดจอกซิน (Digoxin)
    • ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) หรือไรแฟมพิซิน (Rifampicin)
    • ยาต้านเชื้อรา เช่น ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
    • ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทน
    • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
    • ยาขับปัสสาวะ
    • ยารักษาต้อหิน
    • อินซูลิน หรือยารับประทานสำหรับรักษาเบาหวาน
    • ยารักษาสมองเสื่อมหรือโรคพาร์กินสัน
    • ยาต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน
    • ยานาพรอกเซน (Naproxen) เซเลโคซิบ (Celecoxib) ยามีลอกซิแคม (Meloxicam)
    • ยารักษาอาการชัก เช่น ยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือยาฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital)

ปริมาณการใช้ยา Dexamethasone

ตัวอย่างของโรคที่ใช้ยา Dexamethasone รักษา ได้แก่

โรคข้ออักเสบ (Inflammatory joint diseases)
ผู้ใหญ่: ฉีดยาเข้าที่ข้อ ขนาด 0.8-4 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อต่อที่อักเสบ
สำหรับการฉีดยาที่เนื้อเยื่ออ่อน ขนาด 2-6 มิลลิกรัม และอาจฉีดยาซ้ำทุก 3-5 วัน ไปจนถึงทุก 2-3 สัปดาห์

ใช้ป้องกันอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Prophylaxis of Nausea and Vomiting Associated with Cytotoxic Therapy)
ผู้ใหญ่: ใช้ขนาด 10-20 มิลลิกรัม ก่อนการใช้ยาเคมีบำบัด 15-30 นาที ใช้ขนาด 10 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง ต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในแต่ละวัน สำหรับผู้รักษาด้วยยาเคมีบำบัดระดับปานกลาง ใช้ยาขนาด 4 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง

ช็อกโดยไม่มีการตอบสนอง (Unresponsive Shock)
ผู้ใหญ่: ให้ทางหลอดเลือด ขนาดเริ่มต้น 40 มิลลิกรัม หรือ 1-6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว(กิโลกรัม) อาจให้ซ้ำทุก 2-6 ชั่วโมง ใช้ยาขนาดสูงจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการที่คงที่ และไม่ควรให้ยาเกินกว่า 48-72 ชั่วโมง

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis)
ผู้ใหญ่: ให้ยาทางหลอดเลือด ขนาด 0.15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) วันละ 4 ครั้ง ให้ 10-20 นาที ก่อนหรือพร้อมกับการรักษาการติดให้ยาฆ่าเชื้อครั้งแรก
เด็ก: อายุ 2 เดือน ถึง 18 ปี ให้ยาทางหลอดเลือด 150 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ทุก 6 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 4 วัน เริ่มใช้ยาก่อนหรือพร้อมกับการรักษาด้วยการต้านแบคทีเรียในครั้งแรก

การอักเสบที่เกิดขึ้นกับดวงตา (Ocular Inflammation)
ผู้ใหญ่: ยาหยอดตา 0.1 เปอร์เซนต์ ใช้ 1-2 หยด ในตาข้างที่เกิดการอักเสบ ในกรณีที่ไม่รุนแรงใช้ 4-6 ครั้งต่อวัน  และในกรณีที่รุนแรงอาจใช้ทุกชั่วโมง
ขี้ผึ้งป้ายตา 0.05 เปอร์เซนต์ ใช้ขนาด 0.5-1 นิ้ว ลงในร่องตาด้านล่าง (Conjunctival Sac)  วันละ 4 ครั้งขึ้นไป และเมื่ออาการดีขึ้นอาจลดลงเหลือวันละครั้ง

ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory)
ผู้ใหญ่: รับประทานขนาด 0.75-9 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งใช้ 2-4 ครั้ง อาจมีการให้ยาโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือทางหลอดเลือด
เด็ก: อายุ 1 เดือน ถึง 18 ปี รับประทาน 10-100 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน แบ่งใช้ 1-2 ครั้ง และอาจมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย อาจใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขนาด 300 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน

การกำเริบฉับพลันของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ผู้ใหญ่: รับประทาน 30 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ตามด้วย 4-12 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน
เด็ก: อายุ 1 เดือน ถึง 12 ปี รับประทาน 100-400 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัมต่อวัน แบ่งใช้ 1-2 ครั้ง
อายุ 12-18 ปี รับประทาน ขนาดเริ่มต้น 0.5-24 มิลลิกรัมต่อวัน สูงสุด 24 มิลลิกรัมต่อวัน

ปริมาณยาสำหรับรักษาภาวะสมองบวมจากโรคมะเร็ง (Cerebral Oedema Caused by Malignancy)
ผู้ใหญ่: ให้ทางหลอดเลือด 10 มิลลิกรัม ตามด้วยให้ทางกล้ามเนื้อ 4 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ประมาณ 12-24 ชั่วโมง อาจลดขนาดยาหลังจาก 2-4 วัน จากนั้นจึงค่อย ๆ ลดและหยุดยาใน 5-7 วัน ในกรณีที่รุนแรง ขนาดเริ่มต้น ให้ทางหลอดเลือด 50 มิลลิกรัม ในวันแรก หลังจากนั้นให้ยาขนาด 8 มิลลิกรัม ทุก 2 ชั่วโมง และค่อย ๆ ลดปริมาณยาในวันที่ 7-13
จนเหลือขนาดยา 2 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง
เด็ก: น้ำหนักตัวน้อยกว่า 35 กิโลกรัม ขนาดเริ่มต้น 20 มิลลิกรัม ให้ทางหลอดเลือด จากนั้นตามด้วย 4 มิลลิกรัม ทุก 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน หลังจากนั้น ตามด้วย 4 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 วัน จากนั้นตามด้วย 2 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน และลดลง 1 มิลลิกรัมต่อวัน
น้ำหนักตัวมากกว่า 35 กิโลกรัม ขนาดเริ่มต้น 25 มิลลิกรัม ให้ทางหลอดเลือด จากนั้นใช้ 4 มิลลิกรัม ทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นใช้ 4 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 วัน จากนั้นใช้ 4 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน จากนั้นลดลงเป็น 2 มิลลิกรัมต่อวัน

*ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

การใช้ยา Dexamethasone

ควรใช้ยาตามที่ระบุอยู่บนฉลากหรือตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้ยานี้ในปริมาณที่มากกว่าหรือติดต่อกันนานกว่าที่แพทย์แนะนำ

  • ไม่ควรหยุดใช้ยาด้วยตนเองในทันที เพราะอาจทำให้เกิดอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ได้ และควรปรึกษาแพทย์ถึงการหลีกเลี่ยงการเกิดอาการถอนยาเมื่อหยุดใช้ยา
  • การใช้ยานี้อาจทำให้ผลทดสอบทางการแพทย์บางอย่างผิดปกติไป ดังนั้นผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการทดสอบทางการแพทย์ใด ๆ
  • ในกรณีที่ลืมรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด ให้รับประทานยาได้ทันที แต่หากใกล้ถึงเวลารับประทานยาในรอบถัดไป ให้ข้ามไปรับประทานยาในรอบถัดไป ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่าและหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์
  • ควรเก็บยาไว้ที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น
  • หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยานี้ ควรถามแพทย์หรือเภสัชกรให้เข้าใจ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Dexamethasone

หากพบว่าเกิดอาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก ใบหน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม หรือคอบวม ควรรีบพบแพทย์ในทันที และหากพบว่าเกิดอาการใดต่อไปนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

  • กล้ามเนื้อเกร็ง อ่อนแรง หรือรู้สึกชา
  • หายใจตื้น มีอาการบวม หรือน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว
  • มีปัญหาในการมองเห็น
  • ภาวะซึมเศร้ารุนแรง มีความคิดหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
  • มีอาการชัก
  • ปวดหลังส่วนล่าง ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย ปัสสาวะมีเลือดปน
  • อุจจาระปนเลือดหรือเป็นสีดำ
  • สับสน มีอาการชาหรือรู้สึกคล้ายเข็มทิ่มบริเวณรอบปาก
  • จังหวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ หรือชีพจรอ่อน
  • มีความผิดปกติของตับอ่อน โดยมีอาการเจ็บรุนแรงที่ท้องส่วนบนลามไปที่หลัง คลื่นไส้และอาเจียน หรือจังหวะหัวใจเต้นเร็ว
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้เกิดตะคริว ท้องผูก หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น ทำให้รู้สึกกระหายหรือต้องปัสสาวะมากขึ้น มีอาการชาหรือรู้สึกมีเข็มทิ่ม
  • ความดันโลหิตสูงที่อันตราย ทำให้ปวดศีรษะรุนแรง มองเห็นไม่ชัด เลือดกำเดาไหล รู้สึกตุบ ๆ ที่คอหรือหู วิตกกังวล

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Dexamethasone ที่พบบ่อยได้แก่

  • มีอาการบวมที่มือหรือข้อเท้า
  • นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน
  • สิวขึ้น ผิวแห้ง ผิวหนังบางลง ช้ำหรือสีผิวเปลี่ยนแปลง
  • แผลหายช้า
  • มีเหงื่อออกมากขึ้น หรือผมยาวเร็ว
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ รู้สึกว่าตนเองหรือสิ่งแวดล้อมหมุน
  • คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างหรือตำแหน่งของไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะที่แขน ขา ใบหน้า คอ หน้าอก หรือเอว

นอกจากนั้น อาจมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ นอกเหนือจากอาการข้างต้นที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที

cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat