Betamethasone (เบต้าเมทาโซน)

Betamethasone (เบต้าเมทาโซน)

Betamethasone (เบต้าเมทาโซน) เป็นยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีฤทธิ์รักษาภาวะต่าง ๆ จากการอักเสบ เช่น อาการแพ้ โรคสะเก็ดเงิน และผื่นผิวหนัง ยา Betamethasone มีข้อควรระวังในการใช้ยามากมาย ผู้ป่วยควรอ่านฉลากยาอย่างละเอียด และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนใช้ยาเสมอ

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

เกี่ยวกับ Betamethasone

กลุ่มยา คอร์ติโคสเตียรอยด์
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ 
สรรพคุณ ต้านการอักเสบ
กลุ่มผู้ป่วย ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยาทาภายนอก

คำเตือนในการใช้ยา Betamethasone

  • ผู้ที่แพ้ยาหรือส่วนประกอบใด ๆ ในยา Betamethasone รวมถึงแพ้อาหาร อาหารเสริม หรือยาชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกัน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา
  • หากกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ถึงประโยชน์และโทษจากยา Betamethasone ก่อนใช้
  • หากกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยากับเด็ก เพราะยาอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กและวัยรุ่นบางราย
  • หากต้องทายาในบริเวณที่ผิวหนังบอบบาง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  • ยา Betamethasone อาจเกิดปฏิกิริยาขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยา วิตามิน อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่กำลังใช้อยู่

ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา Betamethasone โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอาการดังต่อไปนี้

ปริมาณการใช้ยา Betamethasone

ปริมาณการใช้ยา Betamethasone อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบและชนิดของยา ระดับความรุนแรงของผู้ป่วย และจุดประสงค์ในการรักษา โดยมีตัวอย่างปริมาณการใช้ยา ดังนี้

รักษาโรคสะเก็ดเงิน

ผู้ใหญ่

  • ยาทาชนิด Betamethasone Dipropionate ปริมาณ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ใช้ทาบริเวณที่ติดเชื้อวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์

รักษาโรคผิวหนังที่ตอบสนองต่อยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ผู้ใหญ่

  • ยาทาชนิด Betamethasone Dipropionate ในรูปแบบขี้ผึ้ง ครีม เจล หรือโลชั่น ปริมาณ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ทาบริเวณที่ติดเชื้อวันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลาสูงสุด 2 สัปดาห์
  • ยาทาชนิด Betamethasone Valerate ในรูปแบบขี้ผึ้ง ครีม เจล หรือโลชั่น ปริมาณ 0.025 และ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ทาบาง ๆ บริเวณที่ติดเชื้อวันละ 1-3 ครั้ง เป็นเวลาสูงสุด 4 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการจะเริ่มดีขึ้น
  • ยาทาชนิด Betamethasone Valerate ในรูปแบบยาน้ำ ปริมาณ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ถูบริเวณที่ติดเชื้อเบา ๆ วันละ 2 ครั้ง

การใช้ยา Betamethasone

  • ห้ามเริ่มหรือหยุดใช้ยา รวมถึงเปลี่ยนปริมาณการใช้ยาด้วยตนเอง
  • ห้ามใช้ยา Betamethasone ร่วมกับผู้อื่น และห้ามใช้ยาของผู้อื่นด้วยเช่นกัน
  • ห้ามรับประทานยา Betamethasone ชนิดยาทาภายนอกเด็ดขาด และห้ามให้ยาสัมผัสโดนเนื้อเยื่อบริเวณปาก จมูก และดวงตา เพราะอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนได้
  • ห้ามปกปิดบริเวณที่ใช้ยาด้วยเครื่องสำอาง ผ้าพันแผล หรือผ้าอื่น ๆ รวมถึงห้ามใช้ยาทาใบหน้า รักแร้ และบริเวณอวัยวะเพศ หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้ยาทาทุกครั้ง ยกเว้นเมื่อทายาบริเวณมือก็ไม่ต้องล้างยาออก
  • ทำความสะอาดบริเวณที่จะทายาให้แห้งทุกครั้งก่อนใช้ยา แล้วจึงทายาบาง ๆ พร้อมถูบริเวณนั้นเบา ๆ
  • ใช้ยาให้ครบตามปริมาณที่แพทย์กำหนด แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
  • หากลืมใช้ยา ให้ใช้ยาทันทีที่นึกขึ้นได้ หากใกล้กับช่วงเวลาในการใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามยาครั้งที่ลืมไป และไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเพื่อทดแทน
  • ควรเก็บยาที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Betamethasone

ยา Betamethasone อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ซึ่งบางอาการอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยปรากฏอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • อาการแพ้ เช่น มีผื่นแดง บวม คัน เป็นลมพิษ ตุ่มพอง ผิวหนังลอก ซึ่งอาจปรากฏร่วมกับอาการมีไข้ แน่นหน้าอก แน่นคอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก พูดลำบาก เสียงแหบผิดปกติ บวมบริเวณปาก ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้า และลำคอ
  • เกิดการติดเชื้อทำให้มีอาการ เช่น มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอมาก ปวดบริเวณหูหรือไซนัส ไอ มีเสมหะเพิ่มขึ้นหรือเสมหะเปลี่ยนสีไป เจ็บปวดเวลาปัสสาวะ มีแผลในปาก หรือมีแผลที่ไม่ยอมหาย
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำให้มีอาการ เช่น สับสน ง่วงนอน กระหายน้ำ หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หน้าแดง หายใจถี่ หรือมีลมหายใจกลิ่นเหมือนผลไม้
  • ผิวหนังเปลี่ยนสภาพ เช่น เป็นสิว ผิวแตกลาย ขนยาว แผลที่ผิวหนังหายช้า ระคายเคือง หรือผิวหนังบางลง
  • ต่อมหมวกไตอ่อนแรงทำให้มีอาการ เช่น ปวดท้องรุนแรง อาเจียน เวียนศีรษะ เป็นลม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยหอบ อารมณ์แปรปรวน ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด
  • โพแทสเซียมในเลือดต่ำทำให้มีอาการ เช่น เจ็บปวดหรือเกร็งกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน เช่น รู้สึกเจ็บปวดบริเวณท้องและหลังอย่างรุนแรง อาเจียน
  • กลุ่มอาการคุชชิงเช่น มีก้อนไขมันสะสมบริเวณหลังส่วนบนและหน้าท้อง หน้าบวมแดง ปวดหัวรุนแรง
  • ซึมเศร้า
  • หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ
  • สีผิวเปลี่ยนแปลง มีอาการบวม ร้อน และชาบริเวณขาหรือแขน
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป
  • หายใจไม่อิ่ม น้ำหนักตัวเพิ่ม หรือแขนขาบวม
  • อาเจียนเป็นเลือดหรือเป็นสีน้ำตาลคล้ำ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • อุจจาระเป็นสีดำหรือเป็นเลือด
  • เลือดออกหรือช้ำโดยไม่มีสาเหตุ
  • ชัก

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ปรากฏผลข้างเคียงใด ๆ หรืออาจมีเพียงอาการที่ไม่รุนแรงนัก เช่น ผิวแห้ง คัน หรือแสบร้อนบริเวณที่ใช้ยา เป็นต้น แต่หากพบอาการข้างเคียงอื่น ๆ หรืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่หายไป ไม่ทุเลาลง หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป