Methylprednisolone (เมทิลเพรดนิโซโลน)

Methylprednisolone (เมทิลเพรดนิโซโลน)

trang cá cược xổ số 

Methylprednisolone (เมทิลเพรดนิโซโลน) เป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่นำมาใช้ต้านการอักเสบหรือกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย รักษาโรคผิวหนังที่ไวต่อยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ โรคหืดชนิดรุนแรง โรคภูมิแพ้ และป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอวัยวะใหม่ในการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ นอกจากนี้ อาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย

trang cá cược xổ số Liên kết đăng nhập

ยา Methylprednisolone มีข้อห้ามใช้และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ

เกี่ยวกับยา Methylprednisolone

กลุ่มยา ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ 
สรรพคุณ ต้านการอักเสบ หรือกดภูมิคุ้มกัน
กลุ่มผู้ป่วย เด็ก ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยาฉีด ยาอม ยารับประทาน

คำเตือนในการใช้ยา Methylprednisolone

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยา Methylprednisolone หากมีประวัติแพ้ยานี้ หรือเกิดการติดเชื้อราตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ยา Methylprednisolone สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากการเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อใด ๆ ภายในไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า ควรแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบก่อนใช้ยานี้ เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงหรือเกิดการติดเชื้อซ้ำ
  • ในระหว่างที่ใช้ยา ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีภาวะติดเชื้อ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงโรคประจำตัวหรือหรือภาวะเจ็บป่วยใด ๆ โดยเฉพาะภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคเริมที่ตา โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคซึมเศร้า อาการป่วยทางจิต โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคตับหรือไตบกพร่อง หรือมีประวัติอาการชัก เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา Methylprednisolone เพราะยาอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดหรือปัสสาวะเพิ่มขึ้น จึงอาจต้องปรับปริมาณการใช้ยารักษาโรคเบาหวานก่อนใช้ยานี้
  • หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนชนิดที่ผลิตจากเชื้อมีชีวิตในระหว่างที่ใช้ยา เพราะยาอาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้
  • หากป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือโรคหัดในระหว่างที่ใช้ยานี้ ให้ไปพบแพทย์ทันที
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ วางแผนมีบุตร หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียของยาก่อนใช้เสมอ
  • ห้ามหยุดใช้ยาอย่างกะทันหันโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้เกิดอาการถอนยา
  • ผู้ป่วยควรพกนามบัตรหรือห้อยป้ายข้อมือที่แสดงว่าตนเป็นผู้ใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อช่วยให้แพทย์หรือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินทราบว่าผู้ป่วยกำลังใช้ยาสเตียรอยด์อยู่

ปริมาณการใช้ยา Methylprednisolone

ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยมีตัวอย่างการใช้ยา ดังนี้

ต้านการอักเสบหรือกดภูมิคุ้มกัน

ยาฉีดเข้าทางข้อต่อ

  • ผู้ใหญ่ สำหรับข้อต่อขนาดเล็ก ให้ฉีดยา Methylprednisolone Acetate เข้าทางข้อต่อปริมาณ 4-10 มิลลิกรัม หากเป็นข้อต่อขนาดปานกลาง ให้ฉีดยาเข้าทางข้อต่อปริมาณ 10-40 มิลลิกรัม และข้อต่อขนาดใหญ่ ให้ฉีดยาเข้าทางข้อต่อปริมาณ 20-80 มิลลิกรัม โดยอาจฉีดยาซ้ำทุก 1-5 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย

ยาฉีดบริเวณรอยโรค

  • ผู้ใหญ่ ฉีดยา Methylprednisolone Acetate เข้าที่รอยโรคปริมาณ 20-60 มิลลิกรัม ทุก 1-5 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย

ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

  • ผู้ใหญ่ ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate ปริมาณ 10-80 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หรือฉีดยา Methylprednisolone Acetate ปริมาณ 10-80 มิลลิกรัม ทุก 1-2 สัปดาห์
  • เด็ก ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate ปริมาณ 0.5-1.7 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรือฉีดยาปริมาณ 5-25 มิลลิกรัม/พื้นที่ผิวหนัง 1 ตารางเมตร/ว้น โดยแบ่งฉีดยาทุก 6-12 ชั่วโมง สำหรับการรักษาเป็นระยะ ให้ยาปริมาณ 15-30 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ไม่ต่ำกว่า 30 นาที วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน

ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ

  • ผู้ใหญ่ ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate ปริมาณ 10-500 มิลลิกรัม/วัน หากฉีดยาปริมาณไม่เกิน 250 มิลลิกรัม ให้ยาเข้าสู่หลอดเลือดดำเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที หากปริมาณยามากกว่า 250 มิลลิกรัม ให้ยาอย่างช้า ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
  • เด็ก ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate ปริมาณ 0.5-1.7 มิลลิกรัม/วัน หรือให้ยาปริมาณ 5-25 มิลลิกรัม/พื้นที่ผิวหนัง 1 ตารางเมตร/วัน โดยแบ่งให้ยาทุก 6-12 ชั่วโมง สำหรับการรักษาเป็นระยะ ให้ยาปริมาณ 15-30 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/ครั้ง ไม่ต่ำกว่า 30 นาที วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน

ยารับประทาน

  • ผู้ใหญ่ รับประทานยาปริมาณเริ่มต้น 2-60 มิลลิกรัม/วัน แบ่งรับประทาน 1-4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับโรคที่รักษา
  • เด็ก รับประทานยา Methylprednisolone Na Succinate ปริมาณ 0.5-1.7 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรือรับประทานยาปริมาณ 5-25 มิลลิกรัม/พื้นที่ผิวหนัง 1 ตารางเมตร/วัน โดยแบ่งรับประทานทุก 6-12 ชั่วโมง สำหรับการรักษาเป็นระยะ ให้รับประทานยาปริมาณ 15-30 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้ระยะเวลาห่างกันประมาณ 30 นาทีขึ้นไป วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน

รักษาโรคผิวหนังที่ไวต่อยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ยาฉีดบริเวณรอยโรค

  • ผู้ใหญ่ ฉีดยา Methylprednisolone Acetate เข้าที่รอยโรคปริมาณ 20-60 มิลลิกรัม อาจฉีดยา 1-4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับประเภทโรคและระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟูหลังเริ่มใช้ยา

ยาใช้ภายนอก

  • ผู้ใหญ่ ทายา Methylprednisolone Aceponate ชนิดขี้ผึ้ง ครีม หรือโลชั่นที่มีความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ลงบนบริเวณที่มีอาการบาง ๆ วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 12 สัปดาห์
  • เด็ก ทายา Methylprednisolone Aceponate ชนิดขี้ผึ้ง ครีม หรือโลชั่นที่มีความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ลงบนบริเวณที่มีอาการบาง ๆ วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 4 สัปดาห์

รักษาโรคหืดรุนแรง (Status Asthmaticus)

  • ผู้ใหญ่ ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate เข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณ 40 มิลลิกรัม หรืออาจฉีดยาซ้ำโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยา
  • เด็ก ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate เข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณ 1-4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 1-3 วัน

รักษาปฏิกิริยาร่างกายต่อต้านอวัยวะใหม่จากการปลูกถ่ายอวัยวะ

  • ผู้ใหญ่ ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate เข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณ 0.5-1 กรัม/วัน โดยให้ยาอย่างต่อเนื่องจนกว่าอาการจะคงที่ ซึ่งอาจใช้เวลาไม่เกิน 48-72 ชั่วโมง
  • เด็ก ฉีดยา Methylprednisolone Na Succinate เข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณ 10-20 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน เป็นเวลาไม่เกิน 3 วัน ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/วัน

รักษาโรคภูมิแพ้
ผู้ใหญ่

  • วันที่ 1 ให้รับประทานยาปริมาณ 24 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หรือแบ่งรับประทาน 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับเวลาที่เริ่มต้นรับประทาน หรือแบ่งรับประทานยาปริมาณ 8 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้าและก่อนนอน หรือรับประทานยาปริมาณ 4 มิลลิกรัม หลังอาหารกลางวันและอาหารเย็น
  • วันที่ 2 ให้รับประทานยาปริมาณ 20 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานยาครั้งละ 4 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า หลังอาหารกลางวัน หลังอาหารเย็น และรับประทานยาปริมาณ 8 มิลลิกรัม ก่อนเข้านอน
  • วันที่ 3 ให้รับประทานยาปริมาณ 16 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานยาครั้งละ 4 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า หลังอาหารกลางวัน หลังอาหารเย็น และก่อนนอน
  • วันที่ 4 ให้รับประทานยาปริมาณ 12 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานยา 4 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า หลังอาหารกลางวัน และก่อนเข้านอน
  • วันที่ 5 ให้รับประทานยาปริมาณ 8 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานยาครั้งละ 4 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า และก่อนนอน
  • วันที่ 6 ให้รับประทานยาปริมาณ 4 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า

การใช้ยา Methylprednisolone

  • ใช้ยาตามฉลากและตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาในปริมาณมากกว่า น้อยกว่า หรือติดต่อกันนานกว่าที่แพทย์แนะนำ หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ
  • กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง มีไข้ เกิดการติดเชื้อ เข้ารับการผ่าตัด หรือรักษาทางการแพทย์ฉุกเฉินอื่น ๆ อาจต้องมีการปรับปริมาณการใช้ยาตามดุลยพินิจของแพทย์
  • ก่อนเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ใด ๆ ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบว่ากำลังใช้ยา Methylprednisolone เพราะยาอาจทำให้ผลทดสอบทางการแพทย์บางประเภทคลาดเคลื่อนได้
  • หากจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์ผู้รักษาทราบว่ากำลังใช้ยา Methylprednisolone เพราะอาจต้องหยุดใช้ยาชั่วคราว
  • แจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบหากลืมใช้ยา
  • หากสงสัยว่าตนใช้ยาเกินปริมาณที่กำหนด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  • เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ให้ห่างจากความร้อนและความชื้น

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Methylprednisolone

การใช้ยา Methylprednisolone อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ภาวะคั่งน้ำ เวียนศีรษะ บ้านหมุน ประจำเดือนผิดปกติ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องอืด ไม่สบายท้อง เป็นต้น หากอาการดังกล่าวไม่หายไปหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์
หากพบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา Methylprednisolone ดังต่อไปนี้ ควรหยุดใช้ยาหรือไปพบแพทย์ทันที

  • อาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก ใบหน้าบวม ลิ้นบวม คอบวม เป็นต้น
  • ตัวบวม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว และหายใจไม่อิ่ม
  • เกิดรอยช้ำ ผิวบาง หรือเป็นแผลไม่หายขาด
  • มองเห็นไม่ชัดหรือเห็นเฉพาะกลางภาพ เจ็บตา เห็นแสงไฟกระจายเป็นแฉกหรือรัศมีรอบดวงไฟ
  • ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง พฤติกรรมหรือความคิดเปลี่ยนแปลงไป
  • เจ็บแขน ขา หรือหลังอย่างผิดปกติ
  • อุจจาระปนเลือดหรือเป็นสีดำ ไอเป็นเลือดหรืออาเจียนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
  • มีอาการชัก
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ อาจทำให้เป็นตะคริวที่ขา ท้องผูก หัวใจเต้นผิดปกติ กระหายน้ำมาก ปัสสาวะมาก หรือเหน็บชา
  • ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจมีการเจริญเติบโตผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเด็กในช่วงวัยเดียวกัน

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใด ๆ เพิ่มเติม ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเช่นกัน

cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online live dealer baccarat